วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ( Cognitivism)

         (ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวม) Lall and Lall(1983:45-54) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ได้กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
          (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=132950 )ทฤษฎีเกสตอลท์ (Gestalt’s Theory)กลุ่มเกสตอลท์ เกิดจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมัน โดยมีผู้นำกลุ่มคือ แมกซ์  เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer) และลูกศิษย์ 2 คนได้แก่ วู้ลฟ์แกงค์  โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ท  คอฟฟ์กา (Kurt  Koffka) และเคิร์ท  เลวิน (Kurt  Lawin) ทั้งกลุ่มมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกันเสียก่อน แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป เพราะเกสตอลท์ (Getstalt) หมายถึง รูป แบบแผน (Form or Pattern) ต่อมาได้แปลว่า ส่วนรวม (Whole) เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของกลุ่มที่ว่า ส่วนรวมมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อย” (The whole is greater than the sum of the parts)
1) การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวของมนุษย์
2) บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
3) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
3.1) การรับรู้ (Perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงเข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด สมองหรือจิตจะใช้ประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฏิกิริยาตอบสนองออกไปตามที่สมอง/จิต ตีความหมาย
3.2) การหยั่งเห็น (insight) เป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้น
4) กฎการจัดระเบียบการรับรู้ (perception) เป็นการแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ส่วน คือ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ทั้งหมด ดังนั้น กลุ่มทฤษฎีเกสตัลท์จึงจัดระเบียบการรับรู้โดยการแบ่งเป็น 7 กฎ  ดังนี้
4.1) กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz) ประสบการณ์เดิมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ของบุคคลต่อสิ่งเร้าเดียวกันอาจแตกต่างกันได้ เพราะการใช้ประสบการณ์เดิมมารับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อยต่างกัน
4.2) กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) สิ่งเร้าใดที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
4.3) กฎแห่งความใกล้เคียง/ใกล้ชิด (Law  of Proximity) สิ่งเร้าที่มีความใกล้เคียงกันบุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน และถ้าทุกสิ่งทุกอย่างเท่ากัน  สิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกันจะถูกรับรู้ด้วยกัน
 4.4) กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure) แม้สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้จะยังไม่สมบูรณ์ แต่บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ ถ้าบุคคลมีประสบการณ์เดิมในสิ่งเร้านั้น
4.5) กฎแห่งความต่อเนื่อง สิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกัน หรือมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกัน หรือเป็นเหตุเป็นผลกัน
4.6) บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง กล่าวคือ เมื่อบุคคลรับรู้สิ่งเร้าในภาพรวมแล้วจะมีความคงที่ในการรับรู้สิ่งนั้นในลักษณะเป็นภาพรวมดังกล่าว ถึงแม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะได้เปลี่ยนแปรไปเมื่อรับรู้ในแง่มุมอื่น เช่น เมื่อเห็นปากขวดกลมเรามักจะเห็นว่ามันกลมเสมอ ถึงแม้ว่าในการมองบางมุม ภาพที่เห็นจะเป็นรูปวงรีก็ตาม
4.7) การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาด บิดเบือน ไปจากความเป็นจริงได้ เนื่องมาจากลักษณะของการจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการลวงตา เช่น เส้นตรงในภาพ ก. ดูสั้นกว่าเส้นตรงในภาพ ข. ทั้ง ๆ ที่ยาวเท่ากัน
5) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (insight) ของโคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) โดยได้ทำการทดลองขังลิงชิมแพนซีที่ชื่อ สุลต่านไว้ในกรงพร้อมท่อนไม้ขนาดสั้นยาวต่าง ๆ กัน นอกกรงได้แขวนกล้วยไว้หวีหนึ่งไกลเกินกว่าที่ลิงจะเอื้อมหยิบได้ ซึ่งลิงก็ได้ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้กินกล้วย เช่น เอื้อมมือหยิบ ส่งเสียงร้อง เขย่ากรง ปีนป่าย จนกระทั่งการหยิบไม้มาเล่น ในที่สุดลิงก็สามารถใช้ไม้สอยกล้วยมากินได้  สรุปได้ว่า ลิงมีการเรียนรู้แบบหยั่งเห็น เป็นการค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวมและการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของอบุคคลนั้นในการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่เผชิญ ดังนั้น ปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็คือประสบการณ์ หากมีประสบการณ์สะสมไว้มาก การเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็จะเกิดขั้นได้มากเช่นกัน
        (ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวม) Ausubel(1963:77-97)ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของเดวิด ออซูเบล กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน การนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบความคิด (Addvance Organizer) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆจะช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้เรียนเนื้อหาสาระอย่างมีความหมาย
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมเป็นทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดจะมีการพัฒนาไปตามวัยอย่างเป็นลำดับขั้น
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
         เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.   
แหล่งเรียนรู้.จิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2554.จาก:http://www.oknation.net/blog/print.php?id=132950 .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น