Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ ) ธอร์นไดค์(ค.ศ.1814–1949)ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูก(trial and error)ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุดเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วบุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียวและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ
( ทิศนา แขมมณีผู้รวบรวม) วัตสัน ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน กล่าวไว้ว่า พฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์เกิดขึ้นและแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อมหรือสิ่งเร้าต่างๆ ที่ถูกจัดสร้างขึ้นหรือเป็นไปตามสภาพธรรมชาติจะช่วยให้เราสามารถควบคุมและทำนายพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคลได้เขาสังเกตเห็นว่าพฤติกรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปตามปฏิกิริยาในของอินทรีย์ซึ่งหมายถึงระบบประสาทและอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งจะเกิดการเรียนรู้และตอบสนองตามปริมาณความเข้มของสิ่งเร้าในขณะนั้น ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ตามประสบการณ์ ภายในร่างกายของบุคคลมีพฤติกรรมมากมายที่วัตสันอธิบายว่าเป็นเพราะการทำงานของสมองรวมทั้งระบบประสาททั้งหมดเขาพยายามที่จะจำกัดขอบเขตการศึกษาค้นคว้าวิจัยเฉพาะพฤติกรรมภายนอกและการศึกษาพฤติกรรมนี้ประกอบด้วยตัวแปร 3 ประการ คือ
1.ประสามรับสัมผัสของอินทรีย์ (organism’s receptors)
2.ประสาทสนองตอบของอินทรีย์ (organism’s effectors)
3.ระบบประสาททั้งหมด (The nervous system)
Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ ) กัทธรี(Guthrie ค.ศ. 1886-1959) 1. กฎแห่งความต่อเนื่อง(Law of Contiguity)
เมื่อมีกลุ่มสิ่งเร้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากระตุ้นจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น และเมื่อกลุ่มสิ่งเร้าเดิมกลับมาปรากฎอีกอาการเคลื่อนไหวอย่างเก่าก็จะเกิดขึ้นอีก พฤติกรรมที่กระทำซ้ำนั้นไม่ใช่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง แต่เกิดจากการที่กลุ่มสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมแบบเก่านั้นกลับมาอีก
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว (One trial learning)สนองออกมา ถ้าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก หรือไม่จำเป็นต้องฝึกซ้ำอีก
3. กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Low of Recency ) หากการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง เมื่อมีสภาพการณ์ใหม่เกิดขึ้น บุคคคลจะกระทำเหมือนที่เคยได้กระทำในครั้งสุดท้ายที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้นั้นไม่ว่าจะผิดหรือถูกก็ตาม
4. หลักการจูงใจ (Motivation) การเรียนรู้เกิดจาการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง
เมื่อมีกลุ่มสิ่งเร้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากระตุ้นจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น และเมื่อกลุ่มสิ่งเร้าเดิมกลับมาปรากฎอีกอาการเคลื่อนไหวอย่างเก่าก็จะเกิดขึ้นอีก พฤติกรรมที่กระทำซ้ำนั้นไม่ใช่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง แต่เกิดจากการที่กลุ่มสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมแบบเก่านั้นกลับมาอีก
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว (One trial learning)สนองออกมา ถ้าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก หรือไม่จำเป็นต้องฝึกซ้ำอีก
3. กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Low of Recency ) หากการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง เมื่อมีสภาพการณ์ใหม่เกิดขึ้น บุคคคลจะกระทำเหมือนที่เคยได้กระทำในครั้งสุดท้ายที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้นั้นไม่ว่าจะผิดหรือถูกก็ตาม
4. หลักการจูงใจ (Motivation) การเรียนรู้เกิดจาการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ซึ่งพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์จะมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมหรือสิ่งเร้าที่เปลี่ยนแปลงไป
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dr.Surin.ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อวันทึ่17 มิถุนายน 2554. จาก:http://surinx.blogspot.com/.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น