วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

                     Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ ) จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า(tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มากๆในหลายๆทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
                     Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ ) วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแลความหมายจากการสัมผัส
                      Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ ) 1.แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sens activity) ขั้นจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ (conceptual thinking or understanding) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อย ๆ เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นโดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน ( apperception)
2.แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ ๆ
สรุป ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองและความคิดของบุคคลเมื่อเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก็จะเกิดการจินตนาการและเกิดเป็นความคิดเชื่อมโยงไปหาอีกสิ่งหนึ่ง
เอกสารอ้างอิง
Dr.Surin.ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อวันทึ่17 มิถุนายน 2554. จาก:http://surinx.blogspot.com/.

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)

           Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ ) 1. รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติคือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การรเยนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย
2.รุสโซเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด้กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
           Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ ) 1.ฟรอเบล เชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก   
2.ฟรอเบล เชื่อว่าควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
           Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ ) 1.เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือคนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผยเป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคมคล้อยตามสังคม และ คนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักรับผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะดังกล่าว
2.เพสตาลอสซีเชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
สรุป ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ เป็นการให้เด็กเรียนรู้ตามธรรมชาติโดยเรียนรู้จากการสัมผัส การกระทำ การพูดและจัดให้เด็กได้เรียนในชั้นอนุบาลซึ่งจะเป็นประสบการณ์โดยตรงที่จะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้น
เอกสารอ้างอิง
Dr.Surin.ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อวันทึ่17 มิถุนายน 2554. จาก:http://surinx.blogspot.com/.

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

         (ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวม)(Bigge, 1964: 19-30) กล่าวไว้ว่า จิตหรือสมองหรือปัญญา สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
          Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ ) กล่าวไว้ว่า
1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
2.มนุษย์พร้อที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
3.สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
4.การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
5.การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
          ณัชชากัญญ์(http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 ) กล่าวไว้ว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
สรุป ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมองเป็นกลุ่มที่พูดถึงจิตหรือสมองของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถฝึกและพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้หากได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นอย่างดี
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
         เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.   
 Dr.Surin.ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อวันทึ่17 มิถุนายน 2554. จาก:http://surinx.blogspot.com/.
ณัชชากัญญ์.ทฤษฎีการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2554.จาก: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486.